โนเกียเข็น ‘เอ็น8′ จ่อลงตลาดปลายต.ค. ทางเลือกมือถือระบบสัมผัส


โนเกียเตรียมเปิดจองสมาร์ทโฟนระบบปฏิบัติการซิมเบียน เวอร์ชัน 3 รุ่น Nokia N8 ผ่านเว็บไซต์โนเกีย หวังเรียกเรทติ้งจากผู้ชื่นชอบมือถือระบบสัมผัส อัดแน่นความบันเทิงระดับเอชดี…



23 ก.ย. บริษัท โนเกีย (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศเปิดตัวสมาร์ทโฟน Nokia N8 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Symbian เวอร์ชัน 3 และพอร์ต HDMI รองรับความบันเทิงขั้นสูง กล้องถ่ายรูป 12 ล้านพิกเซล เลนส์ Carl Zeiss แฟลชซีนอน ที่ให้ความสว่างสูง และเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ สามารถบันทึกภาพวีดิโอระดับ HD (high-definition) พร้อมโปรแกรมตัดต่อในตัวเครื่อง เชื่อมต่อกับระบบ Home Theatre พร้อมระบบเสียง Dolby Digital Plus รอบทิศทาง โดยระบบปฏิบัติการ Symbian เวอร์ชัน 3 สร้างจาก User Interface ระบบสัมผัสที่ตอบสนองอย่างรวดเร็ว รองรับการเปิดโปรแกรมหลากหลายพร้อมกัน เชื่อมต่อสังคมออนไลน์ได้อย่างง่ายดาย โดยผู้ใช้ Nokia N8 สามารถใช้งาน Ovi Maps ได้ฟรีตลอดชีพ

ทั้งนี้ Nokia N8 มีให้เลือก 5 สี ได้แก่ ดำ เงิน เขียว ฟ้า และส้ม ในราคา 16,500 บาท โดยผู้สนใจสามารถจองผ่าน www.nokia.co.th/n8preorder ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย.-4 ต.ค.นี้ เพื่อรับเครื่องจริงประมาณช่วงปลายเดือนต.ค.53

สำหรับ 800 คนแรกที่ลงทะเบียนจอง มีสิทธิ์รับพรินเตอร์ Cannon รุ่น CP780 มูลค่า 4,990 บาท พร้อมบัตรส่วนลดแลกซื้ออุปกรณ์เสริมโนเกียมูลค่า 500 บาทฟรี โดยสามารถเลือกรับเครื่องได้ที่โนเกียช็อปทั้ง 23 สาขา หรือเอไอเอสช็อป 3 สาขา

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 23 – 09 – 2553

นักวิชาการชี้ร่าง กม.กสทช.ยังเสี่ยงมีปัญหาฟ้องร้อง


“ทรู” เผยประมูล 3จีถูกระงับทำบริษัทเสียโอกาสทางธุรกิจ แต่ยังมีเคเบิลทีวี-ดาวเทียม เลี้ยงตัวเอง สงสารคนรุ่นใหม่ ไม่ได้สัมผัสเทคโนโลยีทันสมัยเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน ด้าน “วรเจตน์ ภาคีรัตน์” ชี้ร่าง พ.ร.บ.กสทช.กระบวนการสรรหากรรมการ เสี่ยงมีปัญหาฟ้องร้อง…

เมื่อวันที่ 23 ก.ค. นายขจร เจียรวนนท์ คณะกรรมการบริหาร บริษท ทรูมูฟ จำกัด เปิดเผยถึงกรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชะลอการประมูลใบอนุญาต 3จี ว่า ถือเป็นความเสียหายโดยรวมของประเทศ ไม่เพียงแต่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเท่านั้น เนื่องจากเทคโนโลยี 3จี ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาประเทศ หากจะรอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อน ก็ต้องใช้เวลาในการคัดสรร วางคลื่นความถี่ และศึกษาการประมูลใหม่ ก็ต้องใช้เวลาอีกไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี

“เราช้ามา 10 ปีแล้ว ขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามก็กำลังศึกษา 4จี หลังจากที่ใช้ 3จี มานาน ลาวก็มี 3จีมานานแล้ว เหลือแต่เพียงคนรุ่นใหม่ของประเทศไทยที่ยังไม่ได้พบเทคโนโลยีใหม่อย่าง 3จี ไม่รู้ว่าจะสู้กับประเทศอื่นอย่างไร มีแต่ถอยหลัง” นายขจร กล่าว

ด้านนายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แม้ศาลปกครองกลางจะมีคำตัดสินให้ชะลอการประมูลใบอนุญาต 3จี ออกไปอย่างไม่มีกำหนด แม้ว่าภาพรวมจะกระทบต่อบริษัทสื่อสารที่ไม่สามารถดำเนินกิจการในระบบ 3จี ได้นั้น ในฐานะที่ ทรู เป็นหนึ่งในบริษัทที่ดำเนินกิจการด้านสื่อสาร คงได้รับผลกระทบจากการที่ไม่สามารถดำเนินกิจการ 3จีได้ แต่หากดูผลประกอบการที่ผ่านมา ทรู ก็สามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง เนื่องจากมีกิจการที่ดูแล ทั้งเคเบิลทีวีและดาวเทียม ซึ่งสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้โดยไม่รอเทคโนโลยี 3จี และสามารถสร้างกำไรให้ตัวเองได้ อย่างไรก็ตาม เสียดายที่ประเทศไทยไม่มีระบบ 3 จีใช้ เป็นการเสียโอกาสทางธุรกิจ

“ในส่วนของทรู ก็มีระบบอื่นที่ใกล้เคียงกับระบบ 3 จี ที่จะให้บริการกับลูกค้าได้อยู่แล้ว แต่ยอมรับว่าการที่ศาลปกครองชะลอในช่วงแรก อาจจะทำให้หุ้นของทรูตกลงไปบ้าง เพราะนักลงทุนยังมีความเชื่อมั่นของการทำงานของทรูเป็นอย่างดี รวมทั้ง ทรู ก็อยู่ระหว่างการหาพันธมิตรใหม่ เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับทางบริษัทฯ ” นายธนินท์ กล่าว

นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์ว่า หากประเมินการจัดตั้ง กสทช. คาดว่าต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1-2 ปี เรื่องดังกล่าว ถือว่าล่าช้ามากแล้ว แม้ พ.ร.บ.กสทช. จะถูกส่งเข้าสภาแล้วแต่กระบวนการยังไม่คืบหน้า ทราบว่ากระบวนการสรรหา กสทช. ซึ่งตามร่างดังกล่าวค่อนข้างใหญ่ มีจำนวนประมาณ 14 คน อาจมีการฟ้องร้องในกระบวนการดังกล่าว รวมถึงประเด็นที่ พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีปัญหาความชอบทางรัฐธรรมนูญหรือไม่ และประเด็นเกี่ยวเนื่องทางกฎหมายอีกหลายประเด็น คาดว่าต้องใช้เวลาอีกพอสมควร

“เนื่องจากกฎหมาย กสทช. ยังไม่ผ่านสภา จึงต้องรอให้ผ่านสภาเสียก่อน ค่อยเข้าสู่กระบวนการสรรหา โดย กสทช. ชุดใหม่จะต้องพิจารณาหลักเกณฑ์การประมูลอีกครั้ง คาดว่าจะกินเวลาพอสมควร ต่อไปคงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องเร่งเหตุปัจจัยทางข้อกฎหมายอื่นๆ เราเห็นภาพแล้วว่าขนาด กสช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ) ก็ยังตั้งไม่ได้ในช่วงหลายปีมานี้ ทำให้เกิดปัญหากรรมการร่วม ส่งผลไปถึงการจัดทำแผนแม่บท ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการระงับประมูลใบอนุญาต 3จีนั้น เกี่ยวพันกับผลประโยชน์ในหลายกลุ่ม” นายวรเจตน์ กล่าว

ทั้งนี้ นายวรเจตน์ เห็นว่า หากมีการประมูล 3จี ก็ยังต้องใช้เวลาอีกช่วงหนึ่งในการทำโครงข่าย กว่าจะเกิดการให้บริการเต็มรูปแบบก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1-2 ปีกว่าจะได้ใช้จริง.

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 23 – 09 – 2553

นักวิเคราะห์ชี้ตลาดSCMจะโตกว่า2เท่าในปีนี้


ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน คาดการณ์ว่าตลาด SCM (Secure Content Management) จะมีการขยายตัว 15.4% ภายในปี 2553 จากเพียง 6.3% ในปี 2552 โดยมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 522,000,000 เหรียญสหรัฐ ภายในสิ้นปีนี้…

นายเอดิสัน ยู นักวิเคราะห์ บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวว่า ขณะนี้ ธุรกิจต่างๆได้มองเห็นถึงคุณประโยชน์ของบริการด้านความปลอดภัยคอนเทนท์ในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น อาทิ ระบบการกรองอีเมล์ ที่มีการบริการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ผู้ส่งจนถึงผู้รับอีเมล์ โดยผลการวิเคราะห์จาก Frost & Sullivan (http://www.networksecurity.frost.com) พบว่าตลาดของความปลอดภัยด้านคอนเทนท์ ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่น จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่18.4% (2009-2016) 

โดยบริการกลั่นกรองอีเมล์ หรือ E– mail Filtering ที่คิดเป็นประมาณ 59% (มูลค่าประมาณ US $ 265,100,000) ของตลาดการรักษาความปลอดภัยเนื้อหาทั้งหมดของปี 2552

นักวิเคราะห์ บริษัทฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวต่อว่า คาดว่าในตลาดการรักษาความปลอดภัยเนื้อหา จะเห็นการเจริญเติบโตขึ้น 15.8 % ต่อปีตั้งแต่ขณะนี้ จนถึง 2559 ในขณะที่การบริการให้ความปลอดภัยทางด้านเว็บไซต์ (Web security services) จะมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 21.5% เนื่องจากบริษัทต่างๆได้เล็งเห็นความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยของเกตเวย์ ของเว็บไซต์เพิ่มขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมาพร้อมๆ กับการเติบโตของเทคโนโลยีต่างๆของเว็บ

“การเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี 2.0 และความสำคัญของเว็บสเปียร์ ส่งผลให้มีการขับเคลื่อนภายในบริษัทต่างๆให้เห็นความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้นนอกเหนือจากการใช้ URL Filtering แบบเก่าๆ โดยคาดว่า เว็บการบริการรักษาความปลอดภัยจะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอย่างมหาศาลภายในไม่กี่ปีข้างหน้า โดยการแปรสภาพการบริการไปในรูปแบบต่างๆ อาทิ การป้องกันมัลแวร์ โปรแกรมควบคุมการป้องกันข้อมูล ที่ถูกผสมอยู่ในโซลูชั่นต่างๆ ที่ผู้ผลิตนำเสนอขาย” นายยู กล่าว

นักวิเคราะห์ บริษัทฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน กล่าวอีกว่า เทคโนโลยีคอนเวอร์เจนซ์จะช่วยรวมการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลสำรองในทั้งอีเมล์และเว็บ ที่ทำให้ความปลอดภัยของข้อมูลมีเพิ่มมากขึ้น เมื่อใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่นการป้องกันการสูญหายของข้อมูลหรือเครือข่ายความปลอดภัย เป็นต้น

นายยู กล่าวด้วยว่า ความสามารถของผู้ผลิตในการนำเสนอโซลูชั่น ที่ครอบคลุมทั้งอีเมล์และเว็บการรักษาความปลอดภัยพร้อมกับตัวเลือกสำหรับแพลตฟอร์มต่างๆ คือ กุญแจสำคัญที่จะส่งเสริมให้มีการแข่งขันกันมากขึ้นในตลาด เนื่องจากแต่ละองค์กรต่างก็มองหาการป้องกันในเชิงลึก ที่มีการจัดการที่ง่ายและค่าใช้จ่ายน้อย

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 21 – 09 – 2553

วินเนอร์ตั้งบ.ลูกดันนักพัฒนารายย่อยโกอินเตอร์


นเนอร์ ออนไลน์ ประกาศลุยตั้งบริษัทลูก “โอ้ ล่า ล่า ออนไลน์” เพื่อดันผลักดันผู้ผลิตซอฟต์แวร์ ทางด้านความบันเทิงออนไลน์ ให้ความฝันเป็นจริงเชิงพาณิชย์ได้ ในรูปแบบการร่วมทุน เข้าไปสนับสนุนโครงการพัฒนา…

บริษัทวินเนอร์ ออนไลน์ จำกัด ประกาศลุยตั้งบริษัทลูก บริษัท โอ้ ล่า ล่า ออนไลน์ จำกัด (OH La La Online) เพื่อมุ่งเป็นบริษัทร่วมพัฒนาซอฟต์แวร์ ทางด้านความบันเทิง ออนไลน์ (Online – Entertainment) รวมทั้งเป็นบริษัทร่วมลงทุน หรือร่วมก่อตั้งธุรกิจที่เกี่ยวกับด้านดังกล่าว โดยใช้เป็นเครื่องมือทางการเงิน (เพื่อลงทุน) มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนทีมผู้พัฒนารายเล็ก รายน้อย ที่มีความฝันในการผลิตซอฟต์แวร์ ความบันเทิงทุกรูปแบบ และแน่นอน รวมไปถึงเกมส์ออนไลน์ ทุกประเภท เพื่อผลักดันให้เป็นเถ้าแก่น้อย และเถ้าแก่ใหญ่ในอนาคต ทั้งนี้จะนำผลงานออกเผยแพร่ต่อสาธารณะในเชิงพาณิชย์ ทั้งในประเทศไทย และอีกหลายๆ ประเทศในทวีปเอเชีย

โครงการนี้ถือเป็นการสานต่อความฝันที่ยิ่งใหญ่ ฝันไกล และจะไปให้ถึง ของผู้พัฒนารายย่อยๆ บริษัท โอ้ ล่า ล่า ออนไลน์ จำกัด จึงขอประกาศให้ทั้งบุคคล หรือนิติบุคคลที่สนใจร่วมอุดมการณ์ ส่งข้อมูลโครงการเพื่อนำเสนอและเข้าสู่กระบวนการขอทุนสนับสนุน/ร่วมทุน ได้โดย ส่งข้อมูลมายังอีเมล์ ohlalaasia@hotmail.com โดยข้อมูลโครงการที่ส่งเข้ามา จะถูกคัดเลือกโดยทีมผู้บริหารระดับมากประสบการณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งนี้สามารถส่งได้ที่ตัวแทน คือ นายสุกิจ พันธ์วิศวาส กรรมการบริหาร บริษัท OH La La Online จำกัด ได้โดยตรง

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 21 – 09 – 2553

"นที" ทวิตแจงปม ทีโอที-กสท เสียรายได้


พ.อ.นที ศุกลรัตน์

พ.อ.นที โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ตอบโต้ ทีโอที-กสท หลังประมูล 3จี เผยเคยแนะวิธีสร้างโครงข่ายพื้นฐานร่วมกันมากว่า 3 เดือน เพื่อโกยรายได้ แต่ไร้วี่แววดำเนินการ…

วันที่ 21 ก.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ในฐานะ ประธานคณะทำงาน 3.9 จี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี หรือ ไลเซนส์ 3จี ของ กทช. ได้ร่างประกาศ กทช. เรื่อง 3จี อยู่บนพื้นฐานของการคำนึงถึง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT เพื่อให้องค์กรทั้งสองสามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ขณะเดียวกัน ยังได้เชิญสหภาพฯ ของทั้งสององค์กรมาพูดคุยให้ทราบถึงแนวทางที่องค์กรจะต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถอยู่รอดได้ในภาวะของการแข่งขัน รวมถึงพูดคุยกับผู้บริหาร กรรมการบริษัท เพื่อให้ทราบถึงแนวทางที่ควรทำเพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้เป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกคน

ทั้งนี้ สิ่งแรกที่พยายามให้เร่งดำเนินการก็คือข้อกำหนดการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน ซึ่งห้ามผู้ได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ให้ใช้ร่วมกับรายเดิมก่อน ถ้ารายเดิมไม่ยอมให้ใช้ร่วมจึงจะสร้างขึ้นมาใหม่ได้ โดยจะต้องเผื่อให้รายอื่นใช้ร่วมด้วย เพื่อป้องกันการโครงสร้างพื้นฐานซ้ำซ้อน ลดการลงทุน เพราะการลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ซ้ำซ้อนย่อมนำมาซึ่งต้นทุนที่สูงขึ้นและในท้ายที่สุดต้นทุนก็จะถูกผลักไปสู่ผู้บริโภคทุกคน ขณะที่ โครงสร้างพื้นฐาน เกิดจากสัมปทานทั้งหมดเป็นของทีโอที และ กสท แม้ว่าสัญญาจะยังไม่สิ้นสุดแต่ท้ายที่สุดต้องถ่ายโอนให้กับทั้ง 2 องค์กร

กรรมการ กทช. กล่าวต่อว่า กทช. เคยยกตัวอย่างว่า บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ยังเหลือเวลาในสัญญาสัมปทาน 5 ปี หมดในปี 2558 ทำอย่างไร ทีโอที ควรตั้งบริษัทร่วมกับเอไอเอส โอนสาธารณูปโภคพื้นฐานไปสู่บริษัทใหม่ โดยส่วนตัวคิดว่าไม่ยากถ้ามีการคำนวณสิทธิการใช้งานของ เอไอเอส ออกมาเป็นมูลค่าเพื่อให้ เอไอเอส มีหุ้นส่วนในทีโอที เป็นเจ้าของหุ้นส่วนที่เหลือ เนื่องจาก บริษัท ที่เป็นเจ้าของโครงสร้างพื้นฐานย่อมเป็นบริษัทสำคัญที่จะให้เช่าเสา สถานีฐาน และโครงสร้างอื่นๆ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตใช้ร่วมกัน ขณะเดียวกัน รัฐวิสาหกิจทั้งสองก็จะปรับตัวจากเดิมมีรายได้จากค่าส่วนแบ่งรายได้มาเป็นเก็บ ค่าเช่าจากการร่วมใช้โครงสร้างพื้นฐานของผู้ได้รับใบอนุญาตใหม่

ส่วน กรณีของ กสท ก็ย่อมสามารถตั้งบริษัทสาธารณูปโภคพื้นฐานร่วมกับทั้ง บริษัท โทเทิ่ล แอดเซสคอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด จะทำให้เกิดบริษัทผู้ผลิตโครงสร้างพื้นฐาน โดย กทช.ได้พูดคุยกับทั้ง 2 สหภาพฯ ผู้บริหารและกรรมการ มากว่า 2-3 เดือนแล้ว แต่ไม่มีการดำเนินแต่ประการใด

สำหรับ อีกแนวทางสำคัญที่คณะกรรมการ 3จี ได้พยายามกำหนดเป็นแนวทางการประกอบธุรกิจขององค์กรทั้งสอง คือ แนวความคิดบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติเดิม ในประกาศ กทช.ฉบับนี้ กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตจะต้องเช่าโครงข่ายหลัก (Back bone) ที่มีอยู่เดิมก่อน ถ้าจะสร้างใหม่จะต้องขออนุญาตจาก กทช.เนื่องจาก การสร้างโครงข่ายหลักเพิ่มเติมเป็นสิ่งยุ่งยาก ต้องใช้ทรัพยากรสาธารณะ ทั้งเสาไฟฟ้าหรือการวางโครงข่ายไปตามถนน เช่นเดียวกับท่อก๊าซของ ปตท. ดัง นั้นการกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตใหม่ต้องเช่าที่มีอยู่เดิมก่อนเป็นช่องทางของ ทีโอที และ กสท ให้มาร่วมใช้โครงข่ายที่ทั้งสองบริษัทมีอยู่เดิม

พ.อ.นที กล่าวด้วยว่า ท้ายสุดโครงข่ายหลักของทีโอที และ กสท จะเป็นโครงข่ายแห่งชาติ มีรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ ทำให้เกิดความมั่นคงในโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศ ขณะที่ บทบาทขององค์กรรัฐวิสาหกิจทั้งสองยังมีความจำเป็นและสำคัญ ในฐานะผู้ใช้ทรัพยากรสาธารณะและคนกลาง ที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทยทุกคน

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 21 – 09 – 2553

หมดปัญหารายชื่อเยอะ-ซิมเต็ม ดีแทคออกซิมใหม่จุได้พันเบอร์


เปิดตัว ‘ซิม XL’ ตอบโจทย์ผู้ที่มีรายชื่อติดต่อจำนวนมาก ทั้งประสานธุรกิจและคนเพื่อนเยอะ ใช้งานได้กับมือถือทุกรุ่นรวมถึงรุ่นที่รองรับ 3จี ลูกค้าเก่านำซิมเก่ามาแลกได้ในราคาเพียง 99 บาท…

บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดตัวซิมการ์ดใหม่ ซิม XL บันทึกเลขหมายได้ถึง 1,000 รายชื่อในซิมเดียว จากซิมรุ่นเดิมที่จัดเก็บได้เพียง 250 รายชื่อ เพื่อตอบสนองผู้ใช้ที่ต้องการเก็บรายชื่อในซิมเพิ่มขึ้นพร้อมรองรับรุ่นโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ทั้งระบบ 3จี และรุ่นอื่นๆ โดยผู้ใช้ซิม XL กับโทรศัพท์ที่รองรับระบบ 3จี สามารถเรียกดูหมายเลยที่บันทึกไว้ผ่านสมุดรายชื่อ (phonebook) ได้ทันที ขณะที่โทรศัพท์รุ่นอื่นๆ สามารถเรียกผ่านเมนูซิม XL ที่ออกแบบการใช้งานไว้โดยเฉพาะเพื่อความสะดวก ทั้งนี้ ซิม XL สามารถรองรับการทำงานร่วมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีอยู่ในตลาดไม่จำกัดรุ่นและยี่ห้อ นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถนำไปใช้งานต่างประเทศผ่านทางบริการข้ามแดนอัตโนมัติได้อีกด้วย ลูกค้าดีแทคที่สนใจสามารถนำซิมทั้งแบบรายเดือนและเติมเงินมาเปลี่ยนเป็นซิม XL ได้ในราคา 99 บาท โดยใช้แพ็กเกจเดิม ที่สำนักงานบริการลูกค้าดีแทคทุกสาขา สอบถามเพิ่มเติม โทร.1678 dtac call center (ครั้งละ 3 บาท) หรือ www.dtac.co.th/simxl

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 21 – 09 – 2553

ทีโอทียื่นหนังสือนายกฯ แจงประมูลคลื่น-3จี คนละเรื่อง


ทีโอที ยื่นหนังสือถึงนายกฯ แฉข้อเท็จจริงระหว่างประมูลคลื่นความถี่ และประมูล 3จี คนละเรื่องกัน พร้อมยอมรับว่าสหภาพฯ ทีโอที ไม่มีคนทำงานโครงข่ายจริงจัง หลังพ.อ.นที โพสต์ผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวตำหนิ…

เมื่อวันที่ 21 ก.ย. เวลาประมาณ 12.00 น. นายพรชัย มีมาก อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และอดีตกรรมาธิการวิสามัญ เข้ายื่นหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่านตัวแทนรับเรื่อง โดยเอกสารมีใจความสำคัญ สรุปให้นายกฯ เข้าใจกรณีกล่าวในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ เมื่อวันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งยังสับสนเรื่อง 3จีอยู่ ว่า การประมูลคลื่นความถี่เป็นคนละส่วนกับการประมูล 3จี และเทคโนโลยีไม่เกี่ยวกับการประมูล อีกทั้ง 3จี ก็เป็นเทคโนโลยีที่มีใช้งานอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน เอกชนก็ได้ทดลองใช้งานอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าความถี่ 2.1 กิกะเฮิร์ตซ เป็นความถี่ที่แต่ละประเทศที่รวมตัวกัน ภายใต้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศตกลงกันว่าจะใช้เป็นความถี่สากล เพราะสามารถให้เทคโนโลยียุคที่ 3 ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด

นายพรชัย กล่าวว่า เนื้อหาสรุปว่าต้องการให้นายกฯ เข้าใจการประมูลคลื่นความถี่ ไม่ใช่เทคโนโลยี 3จี เพราะ 3จี มีใช้งานอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ต้องการให้เข้าใจ คือ การประมูลคลื่นความถี่ ไม่เช่นนั้นจะทำให้ผู้คนที่รับข่าวสารเกิดความสับสน เพราะว่าสังคมได้รับรู้แค่ว่าการประมูล 3จี และเห็นความพิเศษของ 3จี ที่ใช้งานได้หลากหลาย จึงนึกว่าทีโอที ไม่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้ คนก็จะเข้าใจทีโอทีผิด วัตถุประสงค์ครั้งนี้ เพื่อขอให้ นายกฯ พูดให้ถูกต้อง หรือถ้าเข้าไปดูเงื่อนไขต่างๆ ต้องไม่ทำให้ประชาชนที่ใช้อยู่เดิมเดือดร้อน โดยหลังจากนี้ ต้องรอดูดุลพินิจของนายกฯ โดยที่ทีโอทีไม่ได้ขีดเส้นระยะเวลา อย่างไรก็ตาม วันที่ 23 ก.ย.นี้ หากศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลาง ทีโอทีก็จะเดินหน้าต่อ

ส่วนกรณี พ.อ.นที ศุกลรัตน์ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ในฐานะประธานคณะทำงาน 3.9 จี โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ว่าเคยพูดคุยกับสหภาพฯ ทีโอที และสหภาพฯ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ในเรื่องโครงข่ายมากว่า 2 เดือนแล้ว แต่ทั้ง 2 สหภาพฯ ยังไม่มีการดำเนินการแต่อย่างใดนั้น ส่วนตัวยอมรับว่า สหภาพฯ ทีโอที ไม่มีคนทำงานด้านนี้โดยตรง​ อย่างไรก็ตาม ตามหลักการณ์ประมูล กทช. ต้องมีการทำประชาพิจารณ์และหาทางออกของปัญหาต่างๆ ไว้แล้ว แต่ครั้งนี้ไม่มี

นายพรชัย กล่าวอีกว่า ขั้นตอนหลังจากนี้ ทีโอที ต้องให้นายกฯ นำเรื่องโครงการขยายโครงข่าย 3จี ที่ทีโอทีมีอยู่แล้ว โดยผลักดันให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติออกมา เพื่อกู้เงินมาดำเนินการได้ และขยายโครงข่าย จากเดิม 524 สถานี ให้มีอย่างน้อย 1,500 สถานี.

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 21 – 09 – 2553

จูนิเปอร์ส่ง Junos Pulse แอพฯความปลอดภัยสื่อสารลง App Store


รองรับอุปกรณ์ไอโฟน-ไอพอด ทัช สร้างปรากฏการณ์ทำงานแบบไร้สายไม่ยึดติดที่ตั้ง เชื่อมต่อข้อมูลได้ไม่ขาดตอน…

จากความนิยมสมาร์ทโฟนยอดฮิตอย่าง ไอโฟน ส่งผลให้มีแอพพลิเคชั่นต่างๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เพื่อรองรับการใช้งานด้านต่างๆ ล่าสุด จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ (NYSE: JNPR) ได้เปิดตัว Junos Pulse App เพื่อทำหน้าที่ให้ความปลอดภัยแก่รีโมทแอคเซสและเชื่อมต่อกับ ไอโฟน และ ไอพอด ทัช ผ่าน App Store สำหรับใช้คู่กับอุปกรณ์ SA Series SSL VPN ของจูนิเปอร์ ทำให้ลูกค้าได้รับการปกป้องเมื่อเรียกใช้งานทรัพยากรบนเครือข่ายขององค์กรผ่านไอโฟนหรือไอพอด ทัช ช่วยให้ใช้งานแบบไร้สายได้โดยไม่ยึดติดที่ตั้งและเชื่อมต่อข้อมูลได้ต่อเนื่อง

Junos Pulse App เน้นความปลอดภัย ทำให้องค์กรสามารถให้บริการเอนด์ยูสเซอร์ที่เรียกเข้ามาใช้ทรัพยากรได้อย่างปลอดภัยระหว่างใช้งาน และสามารถตั้งค่าตามระเบียบนโยบายขององค์กรได้ ปัจจุบัน จูนิเปอร์ยังเป็นผู้นำด้านความปลอดภัยสำหรับการสื่อสารโมบายล์ในประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงอยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการสื่อสารที่ได้รับการปกป้องของสมาร์ทโฟนและครองตลาดโซลูชัน SSL VPN1 ซึ่งต่อยอดมาจากศักยภาพความปลอดภัยการสื่อสารผ่าน SSL VPN ที่ใช้อย่างแพร่หลายตามองค์กรต่างๆ ทั่วโลก รองรับการใช้งานของยูสเซอร์มากกว่า 25 ล้านคนเมื่อใช้อุปกรณ์สื่อสารไร้สายเรียกเข้าไปยังเครือข่ายเน็ตเวิร์คขององค์กรของตน

นอกจากนี้ ผู้ใช้ไอโฟนยังได้รับการจากใช้ Junos Pulse App ซึ่งรอบรับ Apple’s VPN on demand เต็มรูปแบบ จึงสามารถต่อเชื่อม VPN กับยูสเซอร์ของไอโฟนผ่านโดเมนที่กำหนดไว้ ด้วยการออกแบบ Junos Pulse ให้ทำงานไม่สิ้นเปลืองแบตเตอรี่เมื่อเชื่อมต่อสัญญาณ โดยระบบจะตัดสัญญาณจาก VPN อัตโนมัติขณะต่อ Wi-Fi และจะเชื่อมต่อเชื่อม VPN อีกครั้งเมื่ออุปกรณ์กลับมาแอคทีฟอีกครั้ง เช่นเดียวกับเมื่อต่อสัญญาณ 3จี

นายมาร์ค บาวเฮ้าส์ รองประธานอาวุโสและผู้จัดการทั่วไป กลุ่มธุรกิจเซอร์วิสเลเยอร์เทคโนโลยี จูนิเปอร์ เน็ตเวิร์คส์ กล่าวว่า การทำรีโมทแอคเซสทางไกลให้ปลอดภัยและควบคุมความต่อเนื่องของสัญญาณสื่อสารถือเป็นความสำคัญต่อการทำงานขององค์กร ทรัพยากรและแอพพลิเคชั่น อีเมล์ การติดต่อและอินทราเน็ต ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญ และเมื่อทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติแอปเปิ้ล Junos Pulse App ช่วยให้ลูกค้ายูสเซอร์กลุ่มเอ็นเตอร์ไพรซ์เพิ่มประสิทธิภาพได้ตามต้องการ โดยผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด Junos Pulse App จาก App Store โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับไอโฟนและไอพอด ทัช บนระบบปฏิบัติการ iOS4.1 ผ่าน www.itunes.com/appstore

โพสโดย ข่าวไอที

/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 21 – 09 – 2553

ไอ-โมบายจัดทัพมือถือลงตลาด ชู


ไอ-โมบายจัดทัพมือถือลงตลาด ชู
ไอ-โมบาย ตั้งเป้ารายได้ทั้งปี 1.28 หมื่นล้านบาท มั่นใจยอดขายมือถือทะลุ 3.7 ล้านเครื่อง เผยทีเด็ดภาคอีสานเป็นแม่เหล็กสร้างรายได้ รับสัดส่วนรายได้ในประเทศกว่า 70% เป็นยอดขายต่างจังหวัด…
เมื่อวันที่ 15 ก.ค. นายธนานันท์ วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ในช่วงต้นปี บริษัทฯ ตั้งเป้ายอดจำหน่ายไว้ประมาณ 3.5 ล้านเครื่อง แต่จากยอดจำหน่ายและการเติบโตในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทฯ จึงปรับเพิ่มยอดจำหน่ายรวมทั้งปีเป็น 3.7 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นยอดจำหน่ายภายในประเทศ 3.3 ล้านเครื่อง และต่างประเทศ 700,000-800,000 เครื่อง คิดเป็นอัตราการเติบโต 5-10% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งมียอดขาย 3 ล้านเครื่อง
ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทฯ มียอดจำหน่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศตามเป้าหมายที่ 1.7 ล้านเครื่อง โดยเน้นโทรศัพท์เคลื่อนที่ระหว่าง 1,500-3,000 บาท ทำให้ได้การตอบรับจากผู้บริโภคระดับล่าง ส่วนตลาดต่างประเทศมียอดจำหน่ายประมาณ 300,000-400,000 เครื่อง โดยประเทศลาวเป็นประเทศที่สร้างรายได้ให้บริษัทฯ ด้วยยอดจำหน่ายเฉลี่ย 10,000 เครื่องต่อเดือน ขณะที่อินโดนีเซียและอินเดียนั้น ยอดขายไม่เติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากสินค้าที่วางจำหน่ายยังเป็นสินค้ารุ่นเดิมที่คงค้างสต็อก
นายธนานันท์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ บริษัทฯ มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 30% ถือเป็นผู้นำอันดับ 2 ในตลาดรวม จากสัดส่วนรายได้ตลาดต่างจังหวัด 70% และ กทม. 30% โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือถือเป็นภูมิภาคที่สร้างรายได้ให้บริษัทฯ สูงสุด ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลัง บริษัทฯ จะใช้กลยุทธ์การทำตลาดด้วยการเปิดตัวสินค้ากว่า 20 รุ่น โดยเฉพาะฟังก์ชันการใช้งานแบบ QWERTY และระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ที่สามารถรองรับเทคโนโลยี 3จี ในระดับราคา 3,000-5,000 บาท ส่วนยอดการใช้งานซิม 3จี ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง มียอดเปิดใช้บริการใหม่ทุกวันประมาณ 300-400 เบอร์ต่อวัน คิดเป็นจำนวนลูกค้ารวม 80,000 ราย เชื่อว่าเป็นยอดจำหน่ายสูงสุดในกลุ่มบริษัทที่ MVNO ร่วมกับ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้รวมภายในปีนี้ไว้ที่ 1.28 หมื่นล้านบาท
ล่าสุด บริษัทฯ เปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 รุ่น ได้แก่ i-mobile S382 และ i-mobile S383 แบบปุ่มกด QWERTY ควบคุมการใช้งานแบบสัมผัสด้วยแทรคแพค กล้องความละเอียด 2 ล้านพิกเซล สามารถใช้งานได้ 2 ซิม ดูทีวีได้ พร้อมตอบสนองการใช้งานอินเทอร์เน็ต โซเชียลเน็ตเวิร์ค ทั้งเฟสบุ๊ก ทวิตเตอร์ และแชทออนไลน์ โดยวางจำหน่ายในราคา 3,190 บาท และ 3,290 บาท นอกจากนี้ ยังมีสมาร์ทโฟน 3จี ระบบปฏิบัติการณ์แอนดรอยด์ รุ่น i-mobile i858 โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบไวด์สกรีนทีวี หน้าจอขนาด 4.3 นิ้ว ถือเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จี แอนดรอยด์รุ่นแรกในตลาดที่รองรับการดูฟรีทีวี ด้วยระบบออโต้ ทีวีจูนเนอร์ พร้อมการใช้งานมัลติมีเดีย กล้องความละเอียด 5 ล้านพิกเซล ตอบสนองการใช้งานอินเทอร์เน็ต โชเชียลเน็ตเวิร์ค และการดาวน์โหลดแอพพลิเคชันต่างๆ โดยวางจำหน่ายในราคา 11,000 บาท.
/ ที่มาของข่าว : ไทยรัฐออนไลน์ วันที่ 16 – 07 – 2553

ข่าวประชาสัมพันธ์ รถใช้พลังงานไฟฟ้าฝีมือคนไทย



• เผยโฉมรถใช้พลังงานไฟฟ้าฝีมือคนไทย รับสถานการณ์ราคาน้ำมันแพง แถมลดมลพิษทางอากาศและเสียง แจงใช้ชิ้นส่วน-อุปกรณ์ภายในประเทศทั้งหมด วิ่งได้ 100-120 ก.ม./ชั่วโมง ผลิตออกมาแล้วหลายแบบ ยอดจองเก๋งมินิ(อีอี) พุ่ง 4 แสนคัน ตั้งเป้าส่งออกไปออสเตรเลีย-มาเลเซีย-ฮ่องกง คนใช้รถเก่าสนใจมาดัดแปลงได้


• พล.อ.ท.มรกต ชาญสำรวจ ประธานกรรมการ บริษัท คลีนฟูเอล เอ็นนอร์ยี เอ็นเตอร์ไพร์ส จำกัด ผู้วิจัยและผู้ผลิตรถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ปัญหาด้านมลภาวะทางอากาศ และราคาน้ำมันที่แพงขึ้นทุกขณะ ด้วยเหตุนี้จึงทำการวิจัยและประดิษฐ์รถยนต์นั่งขนาดเล็กใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ทั้งหมดในประเทศ โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
• "รถยนต์ไฟฟ้านี้ นอกจากจะช่วยลดการใช้น้ำมันแล้ว ยังแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศและทางเสียงอย่างสิ้น


• เชิง เนื่องจากไม่มีการปล่อยมลสารและไม่มีเสียงดังขณะขับเคลื่อน และรถยังมีขนาดเล็ก เหมาะสมกับการจราจรในเมืองที่การจราจรคับคั่ง"
• พล.อ.ท.มรกตกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้านี้ได้รับการยอมรับ ให้วิ่งบนถนนสาธารณะได้อย่างปลอดภัย และภายในรถยนต์จะมีเครื่องปรับอากาศ เครื่องเสียง และระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ระบบขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้านี้ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญคือ แบตเตอรี่ คันโยกมือ หรือ F-R Switch คันเร่ง และ V-Glide หรือ Wiper Switch มอเตอร์ ชุดควบคุมความเร็ว และโซลินอยด์
• ส่วนแบตเตอรี่ที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ใช้แบตเตอรี่ของประเทศไทยชนิด Deep Cycle ขนาด 8 V จำนวน 6 ลูก ต่ออนุกรมเพื่อให้แรงดันรวม 48 V และกระแสไฟฟ้า 150 AH เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้กับระบบขับเคลื่อน เมื่อมีการใช้งานจนหมดไฟสามารถอัดประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่ได้โดยการใช้เครื่อง ชาร์จ ซึ่งมีทั้งระบบ Manual และ Auto และเครื่องจะหยุดทำงานเมื่อไฟเต็มเองโดยอัตโนมัติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง
• พล.อ.ท.มรกตกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้านี้มีการเลือกใช้ระบบไฟฟ้าที่เหมาะสมมีสภาพทนทาน ง่ายต่อการใช้งานสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 100-120 กิโลเมตร/ชั่วโมง และราคาถูกกว่ารถนำเข้าจากต่างประเทศ 300,000-400,000บาท/คัน
• "จากผลการวิจัยที่ใช้เวลากว่า 5 ปี พบว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีความสิ้นเปลืองน้ำมันและและค่าบำรุง รักษาคิดเป็น 260,000บาท/5 ปี ขณะที่รถยนต์จากการวิจัยนี้มีค่าไฟฟ้าและบำรุงรักษาเป็นเงิน 95,500บาท/5 ปี"
• พล.อ.ท.มรกตกล่าวว่า รถยนต์ไฟฟ้าจากการวิจัยที่จะนำออกมาใช้บนท้องถนน อาทิ รถ Carry All มี 4 ตอน 12 ที่นั่ง, รถ Tuk Tuk Arun Sawasdi มี 2 ตอน 3 ที่นั่ง, รถช็อปเปอร์ Blowing Storm หรือพายุพัด, รถ Sea-Lion มี 2 ตอน 4 ที่นั่ง พร้อมกระบะบรรทุก และรถเก๋ง Mini( E.E.) Car มี 2 ที่นั่ง (ดูรูปประกอบ) และรถไฟฟ้าของสภาวิจัยแห่งชาติที่มียอดจองแล้ว 50 คัน
• "ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้ามีกำลังการผลิตเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ 10,000-20,000 คัน ส่วนรถยนต์รุ่น Mini(E.E.) Car มียอดจองถึง 400,000 คัน และอนาคตคาดว่าจะเปิดตลาดที่ประเทศออสเตรเลีย ฮ่องกง และมาเลเซีย" พล.อ.ท.มรกตกล่าว และว่า สำหรับประชาชนที่สนใจจะใช้รถยนต์ไฟฟ้าสามารถนำรถเก่าที่มีขนาดเล็กมาดัดแปลง และขอข้อมูลจากศูนย์การวิจัยได้
ที่มา http://www.prd.go.th/